กลุ่มเด็กรักษ์ทุ่ง
โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม

 

 

ชื่อกลุ่มเยาวชน : กลุ่มเด็กรักษ์ทุ่ง
โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77180

ผู้ประสานงาน

 

:

 

 

 

นายนิรุต ท้าวโกษา โทร. 080 433 4934

     

 

 

 

 นายโชคชัย นาคสุข โทร. 084 397 9384

       

 

 

ครูสุพจน์ สุขพัฒน์ (ที่ปรึกษา) โทร. 086 178 9006

 

 

 

ครูู์บุบผา บุญส่ง           ครูประเทือง บัวเผือน

 

จำนวนสมาชิก : 100 คน
ระยะเวลาดำเนินการ : ปี 2539 - ปัจจุบัน

กิจกรรม :

  • จัดตั้ง "ชุมนุมดูนก" โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม ถ่ายทอดประสบการณ์จากพี่สู่น้องด้วยอุปกรณ์การสอนที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง มีการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการและนำไปศึกษาในสภาพแวดล้อมจริง สอนการทำเข็มกลัดรูปนก ปลูกป่าชายเลน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพและเรียนรู้การรีไซเคิลขยะ
  • กิจกรรมการอนุรักษ์ร่วมกับวัด ชุมชนและองค์กรท้องถิ่น อาทิ ปลูกต้นไม้ริมถนน เผยแพร่ความรู้เรื่อง "นก" ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เก็บขยะ จัดทำเขตห้ามจับสัตว์น้ำร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด เป็นต้น
  • เป็นวิทยากรในการนำดูนกและจัดค่ายสิ่งแวดล้อมให้กับหน่วยงานและประชาชนที่สนใจ

การรวมตัวของ นักเรียนในโรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม ที่สนใจศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งสามร้อยยอด ตั้งเป็น "กลุ่มเด็กรักษ์ทุ่ง" ในปี 2539 มีสัญลักษณ์เป็นเจ้ากระเต็นตัวน้อย ใช้นกเป็นสื่อการเรียนรู้ระบบนิเวศเฉพาะถิ่น หลังจากนั้นขยายเป็นชุมนุมดูนก เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องระบบนิเวศ ดึงความสนใจของเยาวชนให้เรียนรู้ท้องถิ่น และกลายเป็นกลุ่มเยาวชนที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ ที่เคยมีความขัดแย้งยาวนาน

อ่านเพิ่ม

บทเพลงของเรา

พระอาทิตย์ช่วยเป็นพยาน เราลูกหลานป่าดงพงพี
เราขออุทิศชีวิตที่มี เพื่อท้องทุ่งนี้อยู่ยั่งยืนนาน
เห็นหมู่ปักษีกางปีกโบยบิน พวกเราถวิลถึง วันเวลา
กิจกรรมต่างๆ นานา ล้วนเป็นสัญญาจากห้วงดวงใจ
อุดมการณ์ยังคงยึดมั่น ให้พวกเรานั้นร่วมกันฝันใฝ่...
                      

           การดูนกที่เป็นกิจกรรมหลัก เด็กๆ ยังเรียนรู้เรื่องการช่วยลดภาวะโลกร้อน ด้วยการใช้ถุงผ้าและไม่ใช้กล่องโฟมใส่อาหาร นำแก้วมาโรงเรียนเพื่อลดขยะพลาสติก ทำโครงการขยะรีไซเคิลและประดิษฐ์เข็มกลัดรูปนกเพื่อนำรายได้มาทำกิจกรรมของชมรม            ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของทุ่งสามร้อยยอดจะพบว่าความขัดแย้ง เรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ระหว่างชาวบ้านและเจ้า หน้าที่รัฐมายาวนาน แต่ความบริสุทธิ์ของเด็ก กลายเป็นสะพานเชื่อมที่ทำให้ความขัดแย้งคลี่คลายลง กลายเป็นความร่วมมือระหว่าง วัด ชุมชน องค์กรท้องถิ่น และอุทยาน ในการบริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและยาวนาน                                                               

อ่านเพิ่ม